วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติขนมชั้น

ความเป็นมา  ของขนมชั้น

     ขนมชั้นสามารถพบได้ในประเทศต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย เวียดนาม ประวัติของขนมชั้นนั้นหาในเว็บไซต์ภาษาไทยไม่เจอข้อมูลเลย แต่เจอในข้อมูลภาษาอังกฤษของขนมชั้นประเทศมาเลเซีย มาว่า ขนม Kueh Lapis หรือขนมชั้นในภาษามาเลย์ (คุย kue มาจากภาษาจีนหมิ่นใต้หรือหมินหนาน แปลว่าขนมที่ทำด้วยแป้งข้าวจ้าว แป้งมันและแป้งหมี่ดังเช่นขนมเค้ก ขนมไข่เป็นต้น ซึ่งมีอยู่มากมาย) นิยมในช่วงเทศกาลตรุษจีน ฮารีรายอ ในมาเลเซีย สิงคโปร์ เว็บไซต์ของมาเลเซียเขียนว่ารับขนมชนิดนี้มาจากอินโดนีเซียเป็นอิทธิพลของชาวดัชต์หรือเนเธอร์แลนด์ เจ้าอาณานิคมอินโดนีเซีย โดยขนมเปลี่ยนจากการอบเป็นการนึ่งซึ่งเป็นวิธีการทำอาหารที่นิยมมากกว่าในประเทศแถบนี้ ดังนั้นทำให้ขนมชั้นจึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Steamed layer cake นั่นเอง (แปลตามตัวว่าว่าเค้กชั้นนึ่ง) 



     อินโดนีเซียมีขนมอิทธิพลดัชต์นามว่า lapis legit (หรือ spiku) เป็นขนมหวานที่เป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย และมีต้นแบบมาจากขนมเค้กที่เรียกว่า Spekkoek (koek คือเค้ก ส่วน spek แปลว่าท้องหมู อาจจะตีความได้ว่าหน้าตาที่เป็นชั้นๆ ของขนมนี้คล้ายกับหมูสามชั้นหรือเบคอน) ของชาวดัตช์ เชื่อกันว่าขนมนี้อาจจะมีต้นแบบแรกสุดมาจากชาวเยอรมัน เราจะเห็นได้ว่ามีขนมของชาวเยอรมันที่หน้าตาคล้ายๆ กันคือ ฺBaumkuchen ที่เหมือนกับขอนไม้รูปวงกลมเป็นชั้นๆ เพียงแต่ spekkoek ไม่มีช็อกโกแลตเคลือบเท่านั้นเอง











   Lapis legit นั้นถ้าแบบดั้งเดิมจะใส่เครื่องเทศเยอะมาก แต่ปัจจุบันก็มีการทำหลากหลายรูปแบบมากขึ้นสำหรับคนที่แพ้กลิ่นเครื่องเทศจัดๆ จะทำเป็นวานิลลา ใบเตย ช็อกโกแลต หรือใส่ลูกเกด ลูกพรุน ก็ยังได้ สามารถทำได้โดยไม่ใส่เครื่องเทศผงแต่เปลี่ยนไปใส่ผงช็อกโกแลต วานิลลาสกัด กลิ่นใบเตย หรือผลไม้อบแห้งสับได้ตามชอบ
   สำหรับขนมชั้นในประเทศไทยนั้น มีมาเมื่อไรไม่ทราบแน่ชัด แต่ชาวดัชต์ปกครองอินโดนีเซียปี ค.ศ. 1800-1942 ก็ประมาณ สมัย ร.1-ร.8 ของไทย แสดงว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงธนบุรียังไม่มีขนมชั้นน่ะสิ ขนมชั้นเป็นที่จัดอยู่ในขนมประเภทแข้น (กึ่งแห้งกึ่งเปียกหรือแข็ง) ในอดีตนิยมใช้ขนมชั้นในงานฉลองยศ เพราะมีความหมายถึงลำดับชั้นยศถาบรรดาศักดิ์ คนโบราณนิยมทำกันถึง 9 ชั้น เพราะถือเคล็ดเสียงของเลข“9”ว่าจะได้ก้าวหน้าใน หน้าที่การงาน ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์สยามที่กล่าวถึงขนมชั้นที่เก่าแก่สุดเท่าที่พบคือ ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ในสมัย ร.5 แสดงว่าในสมัย ร.5 นี้ชาวสยามรู้จักกับขนมชั้นแล้ว นอกจากนี้พระยาอนุมานราชธน เสฐียรโกเศศ”  (มีชีวิตช่วง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 5 แผ่นดิน ร.5-ร.9) ได้เขียนไว้ว่าขนมชั้นยังจัดอยู่ ในชุดของขนมแต่งงานซึ่งในพิธีขันหมาก










16 ความคิดเห็น:

  1. น่ากินจังเลยค่ะ^^

    ตอบลบ
  2. ฝากไลค์ให้หนูด้วยนะค่ะ
    aonumar.blogspot.com

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค๊าา ขนมน่าทานมากกก

    ตอบลบ
  4. อร่อยมากค่ะ กินไม่เคยเบื่อสักที

    ตอบลบ
  5. คิดแล้วมันรู้สึกถึงความหนึบ หอม หวาน

    ตอบลบ
  6. คิดแล้วมันรู้สึกถึงความหนึบ หอม หวาน

    ตอบลบ
  7. เคยแต่ทานไม่เคยรู้ประวัติเลย ตอนนี้รู้เเล้วคะ ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  8. ได้ความรุ้มากเลยค่ะขอบคุณนะค่ะ

    ตอบลบ
  9. ได้ความรุ้มากเลยค่ะขอบคุณนะค่ะ

    ตอบลบ